การใช้งานเลเซอร์ ในด้านอุตสาหกรรม สามารถทำได้แบบไหนบ้าง

การใช้งานเลเซอร์ ในด้านอุตสาหกรรม สามารถทำได้แบบไหนบ้าง

1.ใช้เจาะเพชรสำหรับทำเป็นช่องดึงลวดโลหะ

เพชร สามารถนำมาใช้เป็นช่องดึงลวดโลหะในอุตสาหกรรมได้ โดยการนำมาเจาะรูเป็นขนาดต่างๆ ซึ่งตามปกติแล้ว เพชรสามารถเจาะได้โดยสว่านซึ่งใช้ระยะเวลานานมากคือ เจาะเพชร 20 รูประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งต่างกับเลเซอร์ระบบพัลส์ที่ใช้ระยะเวลาในการเจาะเพชร 20 รูเพียง 10 นาทีเท่านั้น ถือว่าช่วยประหยัดเวลาได้มากและเมื่อลองนำเพชรที่ทั้งสองที่ถูกเจาะโดยวิธีต่างกันมาลองใช้งานจริงกับเครื่องจักรผลิตเส้นลวดแล้วพบว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีเท่าๆ กัน

2.ใช้สำหรับปรับแต่งค่าความต้านทาน (trimming resistors)

เลเซอร์ระบบพัลส์นั้นสามารถใช้ในการแต่งค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบคราบโลหะ (metal film) ที่ให้ค่าผิดพลาดน้อยมาก เพียงประมาณร้อยละ 0.05 เท่านั้น เมื่อฉาบคราบโลหะลงบนผิวของหลอดแก้วที่เป็นชิ้นส่วนชั้นนอกของตัวต้านทานแล้ว ผู้ผลิตจะนำคราบโลหะขีดเป็นรอยขดสว่าน (helix) เกิดเป็นค่าความต้านทานแบบหยาบๆ ต่อจากนั้นจึงจะนำสำแสงเลเซอร์ระบบพัลส์ยิงผ่านหลอดแก้วเข้าไปตัดแต่งคราบโลหะ เพื่อให้ได้ค่าความต้านทานตามที่ผู้ผลิตต้องการ

3.ใช้สำหรับวัดความยาวอย่างละเอียด ในอินเทอร์เฟียโรมิเตอร์ (interferometer)

การวัดความยาวอย่างละเอียดโดยอินเทอร์เฟียโรมิเตอร์นั้น จะใช้เลเซอร์ชนิดก๊าซฮีเลียม-นีออนที่มีคุณสมบัติด้านการมีสีเดียวและการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถวัดความยาว 100 นิ้วได้ละเอียดมากถึง 0.00003 นิ้วต่อความยาว 1 ฟุต ไม่เพียงเท่านั้น อินเทอร์เฟียโรมิเตอร์ยังถูกนำมาใช้สำหรับตรวจสอบและวัดขนาด (calibrate) ความยาวในแนวเส้นตรงต่างๆได้ ใช้ในการตรวจสอบการวางแนว (alignment) รวมถึงไปถึงสามารถนำมาใช้ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเครื่องมือกลต่าง ๆ ได้

การใช้งานของเลเซอร์ในด้านอื่นๆ

การใช้งานด้านอื่นๆ ของเลเซอร์นั้นมีมากมาย ได้แก่ การนำมาเชื่อมส่วนประกอบในวงจรจุลภาค เจาะรูในโลหะที่มีความแข็งสูง เจาะเซรามิก วัดความเร็วของของไหล ใช้เป็นเรดาร์ทางแสงสำหรับค้นหาระยะทาง หรือเป็นใช้เป็นตัวให้ความร้อนแก่การระเหิดในเครื่องสเปกโทรสโคปชนิดปล่อยแสง ใช้ในงานด้านสื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ ใช้เป็นตัวเจาะนำสำหรับการเจาะขุดอุโมงค์ และใช้ในเทคโนโลยีการผ่าตัดทางการแพทย์แบบไม่เสียเลือด เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยีเลเซอร์ชนิดก๊าซขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการยังถูกนำมาใช้ในการจัดตำแหน่งแนวทางแสง (optical alignment) แก่เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดสูง

การทำงานของเลเซอร์ระบบพัลส์

เลเซอร์ระบบ LMT-21 ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัท Westinghouse นั้น สามารถให้พลังงานได้มากถึง 200 จูลที่อัตราความถี่ 1 พัลส์ต่อนาที โดยที่เครื่องเลเซอร์ระบบ LMT-21 นี้สามารถเพิ่มอัตราความถี่ของพัลส์ได้ถึง 1 พัลส์/วินาที และหากกำหนดช่วงเวลาของพัลส์ให้เหมาะสม จัดค่าพลังงานส่งออกและค่าความถี่ของพัลส์ให้มีค่าพอดีแล้ว จะสามารถให้ผลดีในการใช้เลเซอร์ดังกล่าวในการใช้เชื่อมหรือเจาะ ดังตัวอย่างงานที่จะกล่าวต่อไปนี้

ใช้ในการเชื่อมผ่านแก้วหรือพลาสติก

เนื่องจากความโปร่งแสง และการไม่ดูดกลืนรังสีที่ออกมาจากเลเซอร์ของกระจกแก้วและพลาสติก เลเซอร์ทับทิมหรือเลเซอร์แบบใช้แก้วนีโอดีเมียม ถูกนำมาใช้สำหรับส่องผ่านเข้าไปเจาะหรือเชื่อมโลหะภายในแก้วและพลาสติกได้ นอกจากนี้จากการทดลองทำให้พบว่า แสงจากเลเซอร์แบบเป็นพัลส์ ที่ได้จากเลเซอร์ทับทิมสามารถยิงผ่านแก้วไปเจาะแผ่นเพลตขั้วบวกของหลอดวิทยุจนทำให้เกิดรูได้

ใช้สำหรับเชื่อมในแนวเส้น

สำหรับวิธีการเชื่อมในแนวเส้นนี้ ผู้ผลิตจะใช้เลนส์รูปกาบกล้วยโฟกัสพลังงานออกให้ออกมาเป็นรูปแบบเส้น แตกต่างจากเลนส์ธรรมดาที่จะให้พลังงานออกมาในรูปแบบจุด วิธีการเชื่อมด้วยเลเซอร์ดังกล่าวนี้มีความสะอาดสูง จึงถูกนำมาใช้ในการผนึกป้องกันอากาศรั่วสำหรับกระป๋องรีเลย์ขนาดเล็ก ซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้วิธีการเชื่อมแบบธรรมดา เพราะวิธีนี้ทำให้รอยเชื่อมสกปรกมากว่าวิธีการเชื่อมในแนวเส้น

เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปแบบการทำงานต่อเนื่อง (continuous CO2 laser)

เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบทำงานต่อเนื่องนั้น เป็นเลเซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในงานตัดหรือเชื่อมเป็นอย่างมาก เป็นเลเซอร์ที่เกิดจากการรวมกันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และฮีเลียม มีขนาดกำลังสูงและเป็นตัวรับพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปทำให้เกิดการปล่อยประจุแบบรุ่งแสง ในส่วนผสมของก๊าซชนิดนี้จะเกิดกระบวนการทางเลเซอร์ขึ้นในระหว่างระดับต่าง ๆ ทั้งในด้านการสั่นไหวและการหมุนตัวของโมเลกุลของก๊าซทำให้ในขณะที่การลู่ออกของลำแสงน้อยและสมบัติด้านการมีสีเดียวยังมีอยู่ ในบางเครื่องสามารถให้กำลังงานออกแบบต่อเนื่องได้มากกว่า 1000 วัตต์ เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นให้รังสีที่อยู่ในแถบรังสีอินฟราเรด คือมีความยาวคลื่น 10.6 ไมครอน ซึ่งโลหะจะสะท้อนรังสีได้ดีในคลื่นความยาวคลื่นขนาดดังกล่าว ส่งผลให้การเจาะหรือตัดโลหะโดยใช้เลเซอร์ชนิดนี้ไม่เกิดผล เลเซอร์ชนิดนี้จึงถูกนำมาใช้และให้ผลดีสำหรับการเจาะหรือตัดแก้ว ควอตซ์ หิน ไม้ และ พลาสติกแทน และเนื่องจากแก้วสามารถดูดรังสีขนาด 10.6 ไมครอนได้ แก้วจึงไม่สามารถใช้การโฟกัสโดยคลื่นรังสีอินฟาเรดได้เช่นเดียวกัน จึงต้องใช้โลหะที่ไม่ดูดรังสีดังกล่าวแทน เช่น อะลูมิเนียม เจอร์เมเนียม เงิน หรือทอง มาใช้ทำกระจกโค้งสำหรับใช้ในการโฟกัสแทนแก้ว

การตัดวัสดุโดยเลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ลำแสงโฟกัสแล้วของเลเซอร์ชนิดก๊าซสามารถตัดไม้สนขาวขนาดหนา 3/4 นิ้วได้ ในอัตราเร็วที่เร็วมากและไม่เกิดขี้เลื่อย โดยจะให้รูปร่าง ความลึก กว้างของช่อง ปริมาตรของวัสดุที่หลุดออกไปจากช่อง ต่างกับที่เกิดขึ้นจากการเจาะโดยใช้ความร้อนจากเปลวไฟธรรมดา และสำหรับการตัดควอตซ์ที่ทนต่อแรงกระทำ จะสามารถใช้เลเซอร์ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัดได้ทันที เนื่องจากสามารถทนกับขยายตัวเกิดที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิได้ แต่แก้วนั้นอาจเกิดการแตกหัก จึงต้องเผาให้ความร้อนทั่วก่อนแล้วจึงสามารถตัดด้วยเลเซอร์

บริการที่เกี่ยวข้อง

รับตัดเลเซอร์

รับตัดเลเซอร์

รับตัดเลเซอร์ รับตัดเหล็ก ผลิตชิ้นงานตามแบบ โรงงานตัดเลเซอร์ คุณภาพสูง ตัดโลหะทุกชิ้น ตัดอลูมิเนียม สแตนเลส งานตกแต่ง ประกอบชิ้นงาน ตัดโลหะแผ่น ทำตามแบบ... รายละเอียด
รับผลิตงานโลหะตามแบบ

รับผลิตงานโลหะตามแบบ

บริการผลิต งานตามแบบ รับผลิตชิ้นงานโลหะตามแบบ ตัดเลเซอร์ พับ งอ ดัดโค้ง งานอุตสาหกรรม งานเชื่อม กลึง ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ CNC รับผลิตชิ้นส่วน ครงวงจร... รายละเอียด