รางลำเลียง ความสำคัญกับงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการผลิต

รางลำเลียง ความสำคัญกับงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการผลิต

ในสายการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร, อุปกรณ์ยานยนต์, บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องมีการลำเลียงสินค้าเข้าไลน์การผลิต จึงต้องมีการติดตั้งระบบสายพานลำเลียงเพื่อใช้ในการขนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็นต้องเดินยกของไปให้เหนื่อยหรือเปลืองแรง รางลำเลียง จะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของสายพานลำเลียงให้อยู่ในแนวเดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานตกหล่น ดังนั้นรางลำเลียงจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับรางลำเลียงที่ใช้ในอุตสาหกรรมกันให้มากขึ้น

รางลำเลียง คืออะไร

รางลำเลียง คือส่วนประกอบที่มีความสำคัญอย่างมากในการลำเลียงชิ้นส่วนหรือสินค้าเข้าไลน์การผลิต โดยจะมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งจะมีการออกแบบให้มีขายึดรางแบบตายตัวหรือขายึดรางแบบปรับทำให้ขนส่งได้รวดเร็ว และควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุให้อยู่ในแนวเดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานตกหล่นจากสายพานซึ่งยังสามารถรองรับน้ำหนักของชิ้นงานได้อย่างมั่นคงอีกด้วย

ทำไมจึงต้องใช้รางลำเลียงในงานอุตสาหกรรม

การขนถ่ายวัสดุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและโรงฝึกงาน ซึ่งปัจจุบันวิวัฒนาการอุตสาหกรรมการผลิตได้เจริญรวดเร็วไปอย่างมากและมีการพัฒนาระบบรางลำเลียงให้ทำงานได้อย่างราบรื่น ทำให้การขนถ่ายวัสดุเป็นไปสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การขนย้ายหรือเคลื่อนย้ายวัสดุในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ต้องการการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นและใช้เวลาน้อย ประหยัดแรงงาน โดยส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบลำเลียงก็คือ รางลำเลียงที่จะทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเข้าไลน์การผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ประหยัดแรงงาน สะอาดและไร้สารปนเปื้อน โดยเฉพาะวัสดุประเภทอาหารที่ต้องการความสะอาดอย่างมาก โดยผู้ผลิตจะเลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการทำรางลำเลียงที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยเพื่อการบริหารในการผลิตของโรงงานให้เกิดประสิทธิภาพ และยังเป็นการช่วยลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ

รางลำเลียง ความสำคัญกับงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการผลิต

ส่วนประกอบของรางลำเลียง มีอะไรบ้าง

รางลำเลียงที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้น มีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. รางนำ

มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น รางนำตรง, รางนำลูกกลิ้ง และรางนำแบบฉาก ซึ่งรางนำจะช่วยควบคุมการเคลื่อนที่ของวัสดุหรือชิ้นงานให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างที่ต้องการ รวมทั้งยังช่วยป้องกันและพยุงสินค้าจากด้านข้างไม่ให้ล้มหรือหลุดออกจากสายพานอีกด้วย ซึ่งรางนำจะช่วยในการลำเลียงสินค้าที่เป็นขวดน้ำเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ไปยังไลน์การผลิตได้อย่างเรียบร้อย ไม่กลิ้งหล่นออกจากรางจนทำให้เกิดความเสียหาย

2. ขายึดราง

เป็นชิ้นส่วนที่จะมีการติดตั้งอยู่กับรางลำเลียงโดยใช้สกรูเป็นตัวยึด มีหน้าที่ในการสร้างความมั่นคงแข็งแรงให้กับรางลำเลียง ขายึดรางมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบทั้งแบบตายตัวที่ยึดอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอน กับขายึดรางแบบปรับได้ทำให้ผู้ใช้ปรับระดับความสูงของรางลำเลียงได้ตามต้องการ ซึ่งวัสดุที่นำมาทำเป็นขายึดของรางลำเลียงต้องมีคุณสมบัติในการยึดที่แน่นหนา แข็งแรงทนทาน และมีความต้านทานการกัดกร่อนที่ดีเยี่ยม เนื่องจากการใช้งานในอุตสาหกรรมนั้นจะต้องใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ

3. เทปกาวสำหรับรางลำเลียง

เทปกาวจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ เทปกาวสไลด์และเทปกาวสองด้าน โดยใช้ในการติดตั้งกับรางลำเลียงพลาสติก ซึ่งเทปกาวสำหรับรางลำเลียงนี้จะผลิตขึ้นจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ ทนทานต่อความร้อน น้ำมัน และการเสียดสีได้ดีเยี่ยม ฉีกขาดยาก และยึดติดทนนาน

เลือกรางลำเลียงอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

รางลำเลียงเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างมากในไลน์การผลิตอุตสาหกรรม และด้วยความที่อุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท ดังนั้น จึงต้องมีแนวทางในการเลือกรางลำเลียงที่เหมาะสมกับการใช้งานดังต่อไปนี้

1. เลือกให้เหมาะกับขนาดและน้ำหนักของผลิตภัณฑ์

ในเบื้องต้นผู้ผลิตจะต้องรู้น้ำหนักของผลิตภัณฑ์และขนาดเพื่อที่จะได้เลือกส่วนประกอบต่างๆ ของรางลำเลียงให้เหมาะสม อย่างเช่นความกว้างของราง, เส้นผ่านศูนย์กลางของลูกกลิ้งและคุณสมบัติของเกจลูกกลิ้ง รวมทั้งขนาดมอเตอร์สำหรับสายพานลำเลียง (บริการผลิตรางลำเลียง เพื่อใช้ในโรงงาน แบบเฉพาะสำหรับเครื่องจักร)

2. อัตราการหยุดสะสมของวัสดุ

โดยจะมีการทำให้ชิ้นงานที่กำลังลำเลียงผ่านสามารถหยุดสะสมตามความต้องการโดยชิ้นงานอื่นๆ ยังสามารถลำเลียงเข้ามาสะสมเพิ่มเติมได้ เป็นการทำให้เครื่องทำงานต่อเนื่องได้เต็มที่โดยไม่ต้องหยุดรอวัสดุก่อนเริ่มการบรรจุงาน หากเลือกอัตราสะสมต่ำเกินไปก็ทำให้เสียเวลารอวัสดุที่กำลังจะเข้าไลน์การผลิต แต่หากเลือกอัตราสะสมของรางลำเลียงมากเกินไปก็ทำให้วัสดุมากองรวมกันจนทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่คาดคิดได้

3. ข้อกำหนดในการทำความสะอาด

การล้างทำความสะอาดรางลำเลียงนั้นจะมีความแตกต่างกันไป โดยข้อพิจารณาในการล้างรางลำเลียงนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้แรงดันน้ำ วัสดุบางอย่างของรางลำเลียงอาจทนต่อแรงดันน้ำได้ไม่เท่ากัน รวมทั้งการใช้สารเคมีทำความสะอาด บริษัทอาจต้องพิจารณาความยากง่ายในการทำความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเลือกรางลำเลียง

รางลำเลียง เป็นส่วนสำคัญในการทำให้กระบวนการผลิตในไลน์อุตสาหกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุนและเวลา ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนเป็นแนวทางเบื้องต้นในการพิจารณารางลำเลียงที่เหมาะสมกับการใช้งานได้เป็นอย่างดี

บริการที่เกี่ยวข้อง

รับผลิตงานโลหะตามแบบ

รับผลิตงานโลหะตามแบบ

บริการผลิต งานตามแบบ รับผลิตชิ้นงานโลหะตามแบบ ตัดเลเซอร์ พับ งอ ดัดโค้ง งานอุตสาหกรรม งานเชื่อม กลึง ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ CNC รับผลิตชิ้นส่วน ครงวงจร... รายละเอียด