ระดับของแสงเลเซอร์ และอันตรายที่แตกต่างกัน

ระดับของแสงเลเซอร์ และอันตรายที่แตกต่างกัน

ในปัจจุบันนั้น ได้มีการนำเลเซอร์มาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเลเซอร์นั้นก็มีหลายชนิดและยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายหลายแบบ โดยสิ่งนี้มีทั้งคุณประโยชน์และโทษ เพราะเป็นแสงที่มีความเข้มข้นมาก ดังนั้นจึงต้องใช้อย่างถูกวิธีและเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประโยชน์และโทษ รวมถึงวิธีการใช้ที่น่าสนใจ

เนื่องจากเลเซอร์นั้นมีด้วยกันมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน และยังก่อให้เกิดอันตรายได้มากน้อยไม่เท่ากันอีกด้วย สำหรับแสงเลเซอร์บางชนิดจะมีความเข้มข้นต่ำมาก ถึงแม้จะทำการจ้องลำแสงเป็นเวลา 5 นาที ก็ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่สำหรับแสงเลเซอร์บางชนิด เพียงแค่เป็นแสงสะท้อนจากขอบแผ่นพลาสติก ก็ก่อให้เกิดอันตรายจนทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว ดังนั้นลองมาดูข้อควรระวังและการป้องกัน ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจากการแบ่งเลเซอร์ออกเป็น 4 ระดับดังนี้

ระดับที่ 1 (Class 1)

เป็นเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นหรือมีกำลังน้อยมาก จึงถือว่าเป็นชนิดที่มีความปลอดภัย ซึ่งเลเซอร์ชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อตา ผิวหนัง และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การใช้งานเลเซอร์ระดับนี้จะไม่ถูกควบคุม แต่จะมีเพียงเครื่องหมายเตือนโดยจะบอกไว้ว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 1 ยกตัวอย่างเช่น ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ขนาด 1 ไมโครวัตต์

ระดับที่ 1M (Class 1M:Magnifier)

เลเซอร์ระดับที่ 1M เป็นเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่จะมีลำแสง diffuse ซึ่งหมายความว่าลำแสงสามารถขยายออกได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ แต่เลเซอร์ในระดับนี้ก็ยังไม่มีความเข้มข้นที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ระดับที่ 2

เลเซอร์ในระดับที่ 2 จัดว่าเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังต่ำและมีความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นได้ (ช่วงความยาวคลื่นจะอยู่ที่ 400 – 700 นาโนเมตร) ซึ่งมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ และต้องเป็นชนิดต่อเนื่องเท่านั้น โดยเลเซอร์ในระดับนี้ไม่ได้จัดว่าเป็นเลเซอร์ที่มีความปลอดภัย เหมือนกับชนิดที่ 1 หากก็ยังถือว่าอันตรายไม่มากนัก โดยในกรณีที่แสงเลเซอร์ในระดับนี้เข้าตา ให้รีบหลับตาในทันที ซึ่งโดยปกติจะมีความเร็วมาก ประมาณ 0.25 วินาที ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์ในระดับนี้ได้

สำหรับตัวอย่างของเลเซอร์ระดับที่ 2 นี้ได้แก่ ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ซึ่งมีความยาวคลื่น 632 นาโนเมตร (สีแดง) และมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ ซึ่งเลเซอร์ระดับนี้ จะมีการใช้ในห้องทดลองของการเรียนในระดับชั้นมัธยม และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมาตราฐานในการป้องกันความปลอดภัยที่ใช้คือ การติดป้ายที่เลเซอร์ แสดงให้ทราบว่าเป็นเลเซอร์แบบชนิดที่ 2 ซึ่งจากการใช้งานจริง ไม่พบว่าเลเซอร์ในระดับนี้ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการจ้องที่ลำแสงชนิดนี้

ระดับ 2M (Class 2M Magnifier)

เลเซอร์ระดับความเข้มข้นที่ 2M จะเป็นเลเซอร์ประเภทเดียวกับเลเซอร์ประเภทที่ 2 เพียงแต่มีกำลังมากกว่าเลเซอร์ประเภทที่ 2 และมีลำแสงที่ diffuse ซึ่งหมายถึงเลแสงสามารถขยายออกไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ แต่ควรหลีกเลี่ยงการจ้องไปที่ลำแสงโดยตรง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ดวงตาได้

ระดับที่ 3R (Class 3R: Restricted)

ความเข้มข้นของแสงเลเซอร์ในระดับนี้ เป็นทั้งชนิดที่ตามองเห็น มองไม่เห็นและชนิดที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นจะอยู่ที่ 400 – 700 นาโนเมตร) ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 1 มิลลิวัตต์ – 5 มิลลิวัตต์

ชนิดที่ตามองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต ประกอบไปด้วยเลเซอร์ซึ่งมีความเข้มข้นมากกว่าแบบที่ 1 แต่ก็ยังมีกำลังน้อยกว่า 5 เท่าของกำลังเลเซอร์ระดับที่ 1

ตัวอย่างของเลเซอร์ระดับที่ 3R เช่น เลเซอร์อาร์กอน ที่ให้แสงสีเขียว มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 514.5 นาโนเมตร ที่มีกำลัง 5 มิลลิวัตต์ แต่หลีกเลี่ยงการมองเข้าไปในลำแสงของเลเซอร์ชนิดนี้ หรือแสงที่เกิดจากการสะท้องของพลาสติก

ระดับที่ 3B (Class 3B)

ประกอบไปด้วยเลเซอร์ทั้งในแบบที่ตามองเห็น แบบที่ตามองไม่เห็นและในแบบที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นอยู่ที่ 400 – 700 นาโนเมตร) ประกอบไปด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 5 มิลลิวัตต์ – 500 มิลลิวัตต์

ระดับที่ตามองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น อินฟราเรด และอัตราไวโอเลต ประกอบไปด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 – 5 เท่า แต่ต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์

ควรหลีกเลี่ยงการมองเข้าไปในแสงเลเซอร์หรือแสงสะท้อนของเลเซอร์ ซึ่งเลเซอร์ชนิดนี้มีกำลังสูงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและสายตาได้ โดยเลเซอร์ในระดับที่ 3 ทั้งสองชนิดนี้ จัดว่าเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังปานกลาง สามารถพบได้ในห้องทดลองวิจัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความอันตรายสูงมาก หากจำเป็นใช้จะต้องมีอุปกรณ์ในการป้องกัน

ระดับที่ 4 (Class 4)

เลเซอร์ระดับนี้จัดว่ามีความพิเศษสูง เพราะว่าไม่สามารถจัดอยู่ในระดับกับเลเซอร์ชนิดอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังสูงมาก (มากกว่า 5 มิลลิวัตต์) ลำแสงเลเซอร์ชนิดนี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา และผิวหนังได้ แม้แต่แสงที่เกิดจากการสะท้อนก็ล้วนแต่อันตรายด้วยกันทั้งสิ้น

ยกตัวอย่างเช่น เลเซอร์อาร์กอนขนาด 2 วัตต์ หรือ นีโอดิเมียมแย็กเลเซอร์ชนิดพัลส์ ที่มีความเข้มข้น 1 จูลต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งการใช้งานเลเซอร์ในระดับที่ 3 แต่จะมีการป้องกันที่รัดกุมมากขึ้น โดยต้องมีการใช้กุญแจในการควบคุมในการเปิดเลเซอร์ หลีกเลี่ยงการมองเข้าไปในแสงเลเซอร์หรือแสงสะท้อน

แสงเลเซอร์นั้นมีหลากหลายชนิด มีระดับความเข้มข้นอย่างแตกต่างกัน และได้ถูกจัดออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งในระดับที่มีความเข้มข้นน้อยนั้นแทบจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาหรือผิวหนังเลย แต่ถ้าเป็นแสงที่มีความเข้มข้นสูง ย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและดวงตาได้ ดังนั้น จึงต้องมีอุปกรณ์เพื่อการป้องกันและมีมาตรฐานการควบคุมที่เข้มงวด

บริการที่เกี่ยวข้อง

รับตัดเลเซอร์

รับตัดเลเซอร์

รับตัดเลเซอร์ รับตัดเหล็ก ผลิตชิ้นงานตามแบบ โรงงานตัดเลเซอร์ คุณภาพสูง ตัดโลหะทุกชิ้น ตัดอลูมิเนียม สแตนเลส งานตกแต่ง ประกอบชิ้นงาน ตัดโลหะแผ่น ทำตามแบบ... รายละเอียด