ประเภทท่อเหล็กสำหรับร้อยสายไฟ และการแบ่งชนิดท่อเหล็กตามกรรมวิธีการผลิต

ประเภทท่อเหล็กสำหรับร้อยสายไฟ และการแบ่งชนิดท่อเหล็กตามกรรมวิธีการผลิต

การใช้ท่อในงานเดินสายไฟ มีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับสายไฟ ทั้งจากความประมาทในขณะทำงาน หรือสภาพพื้นที่ที่ไม่อำนวย โดยท่อร้อยสายทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย ทั้งโลหะ และอโลหะ เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับพื้นที่และปัจจัยรอบด้าน ประเภทของท่อร้อยสายที่นิยมใช้ในงานไฟฟ้า มีดังนี้

ท่อโลหะบาง
(Electrical Metallic Tubing หรือ EMT)

ท่อชนิดนี้ตัวท่อจะนำเอาแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนมาทำหรืออาจใช้ชนิดรีดเย็นทำก็ได้ และเคลือบผิวภายนอกด้วยสังกะสี ส่วนผิวภายในอาจเคลือบด้วย ฮอทดิปกัลวาไนท์ หรืออีนาเมล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการผลิตของผู้ผลิตแต่ละรายด้วย โดยการเคลือบผิวทั้ง 2 ด้าน ส่งผลทำให้ตัวท่อมีความมันวาวและเรียบ แต่ไม่สามารถทำเกลียวได้ ขนาดของท่อมีตั้งแต่ 1/2” – 2” และยาวท่อนละประมาณ 3 เมตร และมีการระบุชนิดของท่อและขนาดท่อ ไว้บนท่อด้วยตัวอักษรสีเขียวตามมาตรฐานที่กำหนด โดยท่อชนิดนี้เหมาะกับการใช้ในงานเดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีต แต่ห้ามใช้ฝังดิน/พื้นคอนกรีต หรือบริเวณที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพ

ท่อโลหะหนาปานกลาง
(Intermediate Metal Conduit หรือ IMC)

ตัวท่อมีการนำแผ่นเหล็กกล้าที่เป็นชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็นมาทำ โดยการเคลือบผิวทั้งภายนอกและภายในเช่นเดียวกับท่อโลหะบาง (EMT) แต่มีความหนามากกว่าท่อโลหะบาง (EMT) และท่อโลหะหนาปานกลาง IMC ซึ่งท่อชนิดนี้ก็จะมีการทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน ขนาดของท่อมีตั้งแต่ 1/2” – 4” และยาวท่อนละประมาณ 3 เมตร อีกทั้งยังมีการระบุชนิดของท่อและขนาดท่อ ไว้บนท่อด้วยตัวอักษรสีส้ม (บางครั้งอาจเห็นเป็นสีแดง) โดยท่อชนิดนี้จะนิยมใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง/พื้นคอนกรีต : ไชยเจริญเทค มีบริการรับตัดท่อขนาดต่างๆ ดัด โค้ง งอ ด้วยเครื่องจักรตัดเลเซอร์ที่ทันสมัย

ท่อโลหะหนา
(Rigid Steel Conduit หรือ RSC)

เป็นท่อที่มีการนำเอาแผ่นเหล็กล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็นมาทำ พร้อมกับเคลือบผิวด้วยสังกะสีทั้งภายนอกและภายใน ทำให้ผิวภายในภายนอกเรียบ แต่จะมีความด้านและหนากว่าท่อโลหะชนิดบาง/ชนิดหนาปานกลาง ส่วนของปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน ขนาดของท่อมีตั้งแต่ 1/2” – 6” และยาวท่อนละประมาณ 3 เมตร รวมถึงระบุชนิดของท่อและขนาดท่อ ไว้บนท่อด้วยตัวอักษรสีดำ ซึ่งท่อชนิดนี้จะเหมาะกับการใช้เดินนอกอาคาร และฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีต

ท่อโลหะอ่อน
(Flexible Metal Conduit)

ท่อชนิดนี้จะมีลักษณะที่ต่างจากท่อชนิดอื่น คือท่อมีความอ่อนตัวสูง สามารถโค้งงอได้ ตัวท่อทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบภายในและภายนอกด้วยสังกะสี ขนาดของท่อมีตั้งแต่ 1/2” – 4” ท่อชนิดนี้ใช้เดินในสถานที่แห้งและสามารถเข้าถึงได้ ไม่ควรเดินในสถานที่เปียก และไม่ควรฝังดินหรือพื้นคอนกรีต แต่เหมาะสำหรับการต่อเข้ากับมอเตอร์ เครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนขณะทำงานและการต่อเข้ากับโคมไฟมากที่สุด

ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ

ท่อโลหะกันน้ำตัวท่อทำจากวัสดุเดียวกับท่อโลหะอ่อน แต่จะมีการหุ้มด้านนอกด้วย PVC เพื่อป้องกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปในท่อ ขนาดของท่อมีตั้งแต่ 1/2” – 4” โดยท่อชนิดนี้สามารถใช้ในสถานที่ที่มีความชื้น คราบน้ำมัน บริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อสูงเพื่อหลบหลีกอันตรายที่อาจเกิดกับสายไฟ และสามารถฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีตได้

ท่อ HDPE
(High Density PolyEthylene)

สำหรับท่อ HDPE ทำด้วยพลาสติก Polyethylene ชนิดที่มีความหนาแน่นสูง มีคุณสมบัติกันความร้อน มีความแข็งแรงสูง สามารถทนต่อแรงกดอัดและยืดหยุ่นดี ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2″ ขึ้นไป ท่อชนิดนี้ใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง, บนฝ้าในอาคาร และสามารถฝังใต้ดินได้

ประเภทท่อเหล็กสำหรับร้อยสายไฟ และการแบ่งชนิดท่อเหล็กตามกรรมวิธีการผลิต

การแบ่งชนิดท่อเหล็กตามกรรมวิธีการผลิต

ท่อมีตะเข็บ (Welded pipe) คือ ท่อที่มีวิธีการผลิตโดยการนำแผ่นคอยล์เหล็กมาคลี่ออกและทำการพับเพื่อขึ้นรูปเป็นท่อ จากนั้นทำการเชื่อมรอยต่อแผ่นเหล็กแต่ละชิ้น ท่อมีตะเข็บสามารถแยกย่อยได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่

  1. ท่อเหล็กแบบมีตะเข็บที่ใช้ความต้านทานไฟฟ้าในการเชื่อมแล้วบีบอัด (ERW) วิธีการผลิตคือ เริ่มจากการคลี่แผ่นเหล็กออกจากนั้นตัดแบ่งแต่ละส่วนให้เท่าๆ กัน ตามขนาดท่อที่ต้องการ และค่อยๆ ม้วนแผ่นเหล็กเป็นรูปทรงกระบอกผ่านลูกรีดในอุณหภูมิห้อง แล้วทำการเชื่อมแผ่นเหล็กด้วยความร้อนจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าความถี่สูง พร้อมกับใช้แรงอัดให้แผ่นเหล็กที่เชื่อมติดกัน จนเนื้อเหล็กนูนออกมา ทำการปาดเนื้อเหล็กส่วนที่นูนทิ้งเพื่อให้ผิวท่อเรียบเสมอกัน ในส่วนของกระบวนการสุดท้าย คือ นำท่อไปผ่านความร้อนอีกครั้ง เพื่อลดความเค้นจากการเชื่อมด้วยกระแสไฟฟ้าความถี่สูง ทำให้เนื้อเหล็กที่ได้มีความสม่ำเสมอ และผ่านรีดเพื่อปรับขนาดท่ออีกครั้ง ส่งผลให้ตะเข็บของท่อชนิดนี้มีลักษณะเป็นแนวตรง โดยท่อเหล็กตะเข็บแบบ ERW จะมีความหนาไม่มากนัก (หนาไม่เกิน 8 มม.) จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่รับแรงดันภายนอกไม่สูงมาก เช่น เป็นท่อก๊าซ ท่อโครงสร้าง เป็นต้น
  2. ท่อเหล็กแบบมีตะเข็บที่เชื่อมโดยการเชื่อมไฟฟ้า (EFW) วิธีการผลิตเป็นการเชื่อมแผ่นเหล็กด้วยการเชื่อมไฟฟ้า สามารถแยกออกได้อีก 2 ประเภท คือ รอยตะเข็บแบบตรง กับรอยตะเข็บแบบเกลียว
  3. ท่อเหล็กแบบมีตะเข็บที่เชื่อมโดยให้ความร้อนแล้วบีบอัด (FBW หรือ BW) มีวิธีการผลิตคือ เริ่มจากการคลี่แผ่นเหล็กออกจากนั้นนำเข้าเตาเผาโดยให้ความร้อนทั่วถึงทั้งแผ่น เน้นให้ความร้อนมากๆ บริเวณตะเข็บ หลังจากนั้นทำการม้วนแผ่นเหล็กเป็นทรงกระบอกพร้อมกับใช้แรงกดอัดให้แผ่นเหล็กติดกัน ท่อชนิดนี้จะมีลักษณะตะเข็บเป็นแบบตรง

วิธีการขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตท่อบางชนิด พร้อมทั้งวัสดุที่ใช้ในการผลิต สามารถบ่งบอกถึงลักษณะการใช้งานท่อชนิดนั้นๆ และความเหมาะสมในการเลือกท่อร้อยสายมาใช้ในงานเดินสายไฟ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับสายไฟและผู้ที่ใช้งานได้

บริการที่เกี่ยวข้อง

รับตัดท่อเหล็ก

รับตัดท่อเหล็ก

รับตัดท่อเหล็ก สมุทรปราการ นนทบุรี ตัดด้วยเครื่องตัดเลเซอร์ เจาะรู บากมุม ได้ทั้งสแตนเลส เหล็ก อลูมิเนียม ตัดต่อได้ทั้งท่อบาง และท่อหนา... รายละเอียด