อาวุธเลเซอร์ ข้อมูลจากของจริงบนโลก เท่าที่มีการเปิดเลย

อาวุธเลเซอร์ ข้อมูลจากของจริงบนโลก เท่าที่มีการเปิดเลย

ประโยชน์ของเลเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ไม่ใช่เพียงแค่ใช้ในเชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนานำไปใช้เพื่องานทางด้านทหาร ซึ่งมักถูกเรียกว่า laser weapon” ที่ใช้งานควบคู่กับขีปนาวุธ มีการนำเอามาพัฒนารวมกัน กลายเป็นอาวุธที่ใช้ทำลายด้วยลำแสงเลเซอร์ ซึ่งมีหลากหลายประเทศที่พยายามนำมาใช้มากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, อิสราเอล, รัสเซีย, อังกฤษ และจีน เป็นต้น

ข้อมูลการใช้อาวุธเลเซอร์เท่าที่เคยเปิดเผย

  1. การใช้ nuclear pump x-ray laser ในโครงการ Excalibur ของประเทศสหรัฐอเมริกา
  2. เมื่อปี ค.ศ. 1984โซเวียตมีการประดิษฐ์ ปืนเลเซอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า handheld laser weapon มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้กับคนที่อยู่บนอวกาศใช้ โดยมีนัยเป็นลักษณะของสงครามเย็น
  3. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2009 บริษัท Northrop Grumman ทำการประกาศว่าสามารถผลิต electric laser ที่มีขนาด 100 กิโลวัตต์ได้ ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ทำลายจรวดขีปนาวุธกันได้เลยทีเดียว
  4. เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.2011 กองทัพเรือสหรัฐได้มีการทดสอบปืนเลเซอร์ ซึ่งมี Northrop Grumman เป็นบริษัทผู้ผลิต และทำการติดตั้งบนเรือรบ USS Paul Foster
  5. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2007 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการทดสอบยิงเลเซอร์ที่มีพลังงานสูง เป็นการยิงจากเครื่องบินที่ติดตั้งเครื่องยิงเลเซอร์น้ำหนัก 3 ตันเอาไว้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการทดสอบครั้งนี้ใช้กับเครื่องบินโบอิ้งที่เรียกชื่อว่า “Boeing YAL-1” ซึ่งก็คือเจ้าโบอิ้ง 747 นั่นเอง1.การใช้ nuclear pump x-ray laser ในโครงการ Excalibur ของประเทศสหรัฐอเมริกา
  6. เมื่อปี ค.ศ. 1984 โซเวียตมีการประดิษฐ์ ปืนเลเซอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า handheld laser weapon มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้กับคนที่อยู่บนอวกาศใช้ โดยมีนัยเป็นลักษณะของสงครามเย็น
  7. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2009 บริษัท Northrop Grumman ทำการประกาศว่าสามารถผลิต electric laser ที่มีขนาด 100 กิโลวัตต์ได้ ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ทำลายจรวดขีปนาวุธกันได้เลยทีเดียว
  8. เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.2011 กองทัพเรือสหรัฐได้มีการทดสอบปืนเลเซอร์ ซึ่งมี Northrop Grumman เป็นบริษัทผู้ผลิต และทำการติดตั้งบนเรือรบ USS Paul Foster
  9. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2007 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการทดสอบยิงเลเซอร์ที่มีพลังงานสูง เป็นการยิงจากเครื่องบินที่ติดตั้งเครื่องยิงเลเซอร์น้ำหนัก 3 ตันเอาไว้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการทดสอบครั้งนี้ใช้กับเครื่องบินโบอิ้งที่เรียกชื่อว่า “Boeing YAL-1” ซึ่งก็คือเจ้าโบอิ้ง 747

ระบบ LaWS ได้ถูกสร้างขึ้นในกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า Laser Weapon System โดยมีการติดตั้งเอาไว้บนเรือรบ USS Ponce โดยมีบริษัท Kratos Defense & Security Solutions เป็นผู้ผลิต นับแต่งแต่ปี ค.ศ.2014 ลักษณะของระบบมีการใช้ลำแสงอินฟราเรดที่ส่งตรงมาจาก solid-state laser มีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการยิงแบบนัดต่อนัด พบว่ามีราคาถูกกว่ากระสุนโลหะหลายเท่า โดยประมาณหากเทียบการยิง 1 นัดมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐเท่านั้น ต่างจากขีปนาวุธขนาดใหญ่ 1 นัด ในราคาสูงลิ่วหลายพันดอลลาร์กันเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ต้องกังวลว่ากระสุนจะหมด สามารถควบคุมการยิงว่าจะเน้นทำลาย หรือยิงขู่แค่เตือนๆ เท่านั้น ก็สามารถทำได้อย่างแม่นยำ

อาวุธเลเซอร์ ข้อมูลจากของจริงบนโลก เท่าที่มีการเปิดเลย

CCW อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด

CCW เป็นคำย่อมาจาก “The Convention on Certain Conventional Weapons” ซึ่งหมายถึง “อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด” หรือ “อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดผลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย” เป็นอนุสัญญาฯ ที่มีการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2523 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2526

โดนในอนุสัญญาฯ ทุกประเทศได้ร่วมเป็นรัฐภาคี ซึ่งต้องทำการจำกัดอาวุธบางส่วนที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ทำให้บาดเจ็บหนัก ส่งผลมากเกินความจำเป็นต่อกำลังรบโดยที่ไม่มีการแบ่งแยกพลเรือน

มาถึงในส่วนของพิธีสารฉบับที่ 4 ชื่อว่า “Protocol on Blinding Laser Weapons” ได้รับรองไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2538 ผลการบังคับใช้ต่อรัฐภาคีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการห้ามใช้อาวุธที่พัฒนามาจากลำแสงเลเซอร์ที่จะทำให้เกิดอาการตาบอดถาวร โดยพิธีสารดังกล่าวมีประเทศที่เข้าร่วมด้วยกันทั้งหมด 105 ประเทศ

อันตรายจากลำแสงเลเซอร์ที่ส่งผลให้ตาบอดถาวรได้

ในปัจจุบันเลเซอร์มีการพัฒนาขึ้นมาหลายสีมากกว่าในอดีต ซึ่งสีแดง สีฟ้า และสีเขียว ถือว่าเป็นเลเซอร์ที่มีพลังทำลายล้างสูงมาก กรณีเช่นนี้เสี่ยงที่จะทำให้ดวงตาบอดสนิทได้ทันทีที่กระทบเพียงแค่เสี้ยววินาที ความน่ากลัวของเลเซอร์โดยเฉพาะแสงสีฟ้า ยังมีอานุภาพที่ร้ายแรงระดับที่เผาไหม้ผิวหนังได้

แม้จะมีการพยายามป้องกันไม่ให้ใช้อาวุธเลเซอร์ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบได้แน่ชัด เนื่องจากรูปแบบของอาวุธ อาจผลิตออกมาในรูปแบบของปากกาหรือพวงกุญแจ ความปลอดภัยของลำแสงเลเซอร์ หากมีกำลังน้อยกว่า 5 มิลลิวัตต์ ส่วนใหญ่เมื่อส่องเข้าตาจะสามารถหันหน้าหนีทันโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หากมีพอยเตอร์เกินกว่านี้ แม้การกระพริบตาหรือเบือนหน้านี้ ก็จะไม่สามารถป้องกันได้ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้แม้จะเพียงชั่วขณะที่กระทบดวงตาเท่านั้น

ไม่ใช่แค่สีฟ้า สีแดง และสีเขียวของเลเซอร์ที่มีพลังงานสูง ลำแสงสีม่วงและน้ำเงิน อาจจะมีผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าได้ เนื่องจากปัจจัยด้านความไวแสงที่น้อยกว่า หากกระทบดวงตาจะทำให้หันหน้าหนีได้ช้ากว่าแสงสีแดงหรือเขียว เพราะฉะนั้นหากพบแม้จะเป็นพอยเตอร์ทั่วๆ ไป ก็ควรเลี่ยงไม่ส่องโดยตรง หรือส่องสะท้อนเข้าดวงตา เนื่องจากไม่มีทางทราบได้เลยว่ามันจะส่งผลเสียหายต่อดวงตาหรือไม่