อันตรายจากเลเซอร์ ข้อควรรู้เพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย

อันตรายจากเลเซอร์ ข้อควรรู้เพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย

ในปัจจุบันเลเซอร์นั้น ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเลเซอร์นั้นมีด้วยกันหลากหลายชนิด ถูกจัดแบ่งออกไปเป็นประเภทต่าง ๆ และมีความยาวคลื่นแสงที่ไม่เท่ากัน มีทั้งแบบชนิดที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ในขณะที่บางชนิดก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังและดวงตาอย่างมาก

การทดลองในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้มีการพิจารณาถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้เลเซอร์ โดยได้แบ่งอันตรายที่เกิดจากแสงเลเซอร์เอาไว้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. อันตรายต่อดวงตา

แสงเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นและมีกำลังสูงมากนั้น ได้แก่ แสงที่ใช้ในการตัดเหล็ก หรือชนิดที่ใช้ในการแกะสลักไม้ สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์ได้ แต่สิ่งที่อันตรายมากยิ่งกว่านั้นคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา เพราะดวงตานั้นเป็นอวัยวะที่บอบบาง และมีความไวต่อแสงมากที่สุด ในดวงตาของเราประกอบไปด้วยเลนส์แก้วตารวมแสงให้กับโฟกัสบนเรตินา ทำให้แสงมีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าที่ตกกระทบบนแก้วตาประมาณ 1 แสนเท่า

โดยปกติแล้ว แสงจากดวงอาทิตย์ หากจ้องมองด้วยตาเปล่าเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทำให้มองไม่เห็นได้ชั่วครู่ ซึ่งการถูกแสงเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นสูงเข้าสู่ดวงตาก็ย่อมทำให้ตาบอดได้เช่นกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่างเป็นตัวประกอบ นอกจากความเข้มข้นของแสงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นแสง และช่วงเวลาที่ได้รับแสง

ความยาวคลื่นแสงที่ก่อให้เกิดอันตราย

ความยาวคลื่นแสงเลเซอร์นั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ ซึ่งดวงตาของมนุษย์จะมีความสามารถมองเห็นแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะในช่วง 400 – 700 นาโนเมตร แต่ถึงแม้ว่าแสงที่มองไม่เห็น หากเข้าตา ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้เช่นกัน

ความยาวของคลื่นแสงโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 400 – 1500 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่สายของเราสามารถมองเห็นได้และยังเป็นช่วงที่เป็นอินฟราเรด จะสามารถผ่านเข้าไปในเลนส์ตาไปถึงเรตินาได้ ช่วงที่เป็นอินฟราเรดไม่ว่าจะมีความเข้มข้นมากขนาดไหน ดวงตาของเราก็ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่มันสามารถส่งผลที่เป็นอันตรายต่อเรตินาในดวงตาได้ ยกตัวอย่างเช่น คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ที่อยู่ในช่วงอินฟราเรด สามารถตัดผ้าหรือเจาะให้ไหม้ได้ ซึ่งเป็นแสงอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 100 – 400 นาโนเมตร ความยาวคลื่นในลักษณะนี้จะผ่านเข้าไปถึงเรตินาได้ไม่ดีเท่ากับช่วง 400 – 1500 นาโนเมตร แต่ก็สามารถทำอันตรายแก่ดวงตาได้ เพราะจะทำให้เกิดตาบอดได้อย่างถาวร

การทำความเข้าใจในเรื่องนี้ อาจจะต้องเข้าใจในรายละเอียดของส่วนประกอบของตา และคุณสมบัติของแสง แต่สิ่งหนึ่งที่ควรรู้ไว้ ไม่ว่าแสงเลเซอร์จะมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงไหนก็ตาม ก็สามารถทำให้ดวงตาเป็นอันตราย จนถึงทำให้ตาบอดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังงานชนิดที่เป็นพัลล์และความต่อเนื่อง เลเซอร์ชนิดที่เป็นพัลล์น้อยกว่า มิลลิวินาทีเพียงแค่พัลล์เดียวก็อาจทำให้ตาบอดได้

อันตรายจากระยะแหล่งกำเนิด

อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจคือ ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดแสง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรทราบ ถ้าลำแสงเลเซอร์เข้าตา ไม่ว่าจะมีระยะห่างมากเท่าใด ก็ล้วนแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ทั้งสิ้น ซึ่งแสงเลเซอร์นั้นจัดว่าเป็นแสงที่มีความแตกต่างจากแสงอื่น ๆ เพราะแสงจะคงสภาพเป็นลำแสงค่อนข้างดี ไม่ค่อยบานออกมามากเท่าไรนัก จึงทำให้ระยะห่างของแสงเลเซอร์ จะไม่มีความแตกต่างกันมาก ถ้าหากแสงเลเซอร์เกิดการสะท้อนจากพื้นผิวของวัสดุที่มีพื้นผิวขรุขระก่อน ก็จะช่วยลดอันตรายจากแสงลงได้ เพราะทำให้แสงมีความเข้มข้นน้อยลง แต่ถ้าหากแสงเกิดการสะท้อนจากวัตถุที่เป็นกระจกหรือมีพื้นผิวเรียบ ก็สามารถคงสภาพของลำแสง และยังมีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นอันตรายไม่ได้แตกต่างจากการมองลำแสงโดยตรงเลย

2. อันตรายต่อผิวหนัง

แสงเลเซอร์นอกจากจะเป็นอันตรายต่อดวงตาแล้ว ยังส่งผลเสียกับผิวหนังได้ สำหรับในกรณีนี้จะเป็นอันตรายน้อยกว่าแสงที่เข้าดวงตา เพราะผิวหนังนั้นจะมีคุณสมบัติที่สะท้อนแสงได้ส่วนหนึ่ง และโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ไวต่อแสงมากนัก แต่ถ้าความเข้มข้นของเลเซอร์มีสูงมาก ก็สามารถตัดทะลุผิวหนังทำให้เกิดแผลได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีสิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้แสงเลเซอร์ในช่วงอัลตราไวโอเลต เพราะแสงในช่วงนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างเซลล์ได้ อันนำไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนัง

การป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์

การใช้แสงเลเซอร์มีข้อควรระวังอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นต่อผิวหนังและต่อดวงตา ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ในผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องการใช้แสงเลเซอร์อย่างถูกต้องดังต่อไปนี้

1. อย่าปล่อยให้แสงเลเซอร์เข้าตา

โดยทั่วไปแล้ว คงไม่มีคงไม่มีใครที่จะจ้องแสงเลเซอร์ตรง ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม แสงเลเซอร์ก็ยังสามารถเข้าตาเราได้โดยไม่ได้ตั้งใจ จากกิจกรรมที่ทำอยู่อย่างไม่ทันระวังตัว รวมถึงเกิดการสะท้อนในช่วงคลื่นที่ไม่สามารถมองเห็น ดังนั้นให้ป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์โดยวิธีการดังต่อไปนี้

  • จัดแสงให้เหมาะสม ไม่ให้อยู่ในระดับสายตา กำจัดสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการสะท้องของแสง
  • มีเครื่องป้องกันแสง เช่น ฉากกั้นแสง เพื่อป้องกันแสงสะท้อน
  • ใส่แว่นตาพิเศษ เพื่อป้องกันดวงตา ซึ่งแว่นชนิดนี้จะช่วยลดความเข้มข้นของแสงลง
  • กั้นส่วนที่ใช้แสงเลเซอร์ออกจากบริเวณอื่น ๆ
  • มีป้ายเตือนทั้งตัวเลเซอร์ และบริเวณห้องที่ใช้งาน

2. รับมือป้องกันอย่างถูกวิธี

  • กั้นพื้นที่ในการใช้งานเลเซอร์ออกจากบริเวณส่วนอื่นๆ เช่น กั้นห้องใช้งานอย่างเป็นสัดเป็นส่วน
  • ติดตั้งป้ายเตือน โดยเตือนที่ตัวของเลเซอร์และตามบริเวณของห้องหรือจุดที่จะใช้งาน เพื่อเตือนให้คนทั่วไปได้ระมัดระวังตัวและหลีกเลี่ยงให้ไกลพื้นที่ดังกล่าวหากไม่มีความจำเป็น

เนื่องจากเลเซอร์เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายได้เสมอ หากใช้อย่างไม่ระวัง เพราะฉะนั้น ผู้ใช้จึงต้องสร้างความเข้าใจ โดยควรทำความรู้จักว่าเลเซอร์คืออะไร มีกี่ชนิด รู้คุณสมบัติของเลเซอร์ชนิดต่างๆ และอันตรายจากเลเซอร์ ทั้งนี้ก็เพื่อการใช้งานอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดตามมาได้แล้ว

บริการที่เกี่ยวข้อง

รับตัดเลเซอร์

รับตัดเลเซอร์

รับตัดเลเซอร์ รับตัดเหล็ก ผลิตชิ้นงานตามแบบ โรงงานตัดเลเซอร์ คุณภาพสูง ตัดโลหะทุกชิ้น ตัดอลูมิเนียม สแตนเลส งานตกแต่ง ประกอบชิ้นงาน ตัดโลหะแผ่น ทำตามแบบ... รายละเอียด