มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (ISIC) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ

มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (ISIC) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ

“มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล” มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า ISIC (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities) เป็นมาตรฐานที่ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยเครื่องหมาย CE ที่ระบุเอาไว้เป็นคำที่ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสคือ “Conformite Europeene” เป็นความหมายเช่นเดียวกันกับคำในภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” ในอดีตเคยใช้เป็นเครื่องหมายตัวอักษรว่า EC แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นตัวอักษร CE แทน ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2536

เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่ตามสินค้าต่างๆ จะเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) โดยหมายถึงสินค้าชิ้นนั้นๆ มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดทางด้านสุขภาพ มีความปลอดภัย และยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เชื่อมโยงกับสหภาพยุโรป

การปรากฏอยู่ของเครื่องหมายดังกล่าวบนสินค้านั้น จะทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าไปวางจำหน่ายได้อย่างเป็นอิสรเสรีภายในเขตเศรษฐกิจยุโรป หรือที่เรียกกันว่า “EEA” (European Economic Area) โดยเขตเศรษฐกิจจะประกอบไปด้วยกลุ่มสหภาพยุโรป EU (European Community) และกลุ่มสมาคมการค้าเสรียุโรป “EFTA” (European Free Trade Association) ยกเว้นแค่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้น โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มสมาชิก จะมีการดำเนินตามกฎหมายภายในประเทศ ด้วยความสอดคล้อง และเป็นระเบียบตามสหภาพยุโรป EC Directives ซึ่งสัมพันธ์กับเครื่องหมาย CE

สำหรับ ISO จะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องของมาตรฐานฐาน “International Standards Organization” มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2590 สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป้าหมายหลักของ ISO นั้นก็เพื่อช่วยส่งเสริมมาตรฐานการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานระหว่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แก้ปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการร่วมมือช่วยพัฒนาที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ

ไม่ว่าจะเป็นในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสรุปใจความได้ว่าองค์กรใดก็ตามที่ได้รับมาตรฐาน ISO จะสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าหรือบริการขององค์กรดังกล่าวได้รับมาตรฐานไว้วางใจในระดับสากล

โดยแต่ละ ISO จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ISO 9000 จะเป็นการจัดการระบบเพื่อบริหารเน้นประกันคุณภาพ สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางระบบเอกสาร
  • ISO 9001 มาตรฐานระบบคุณภาพ ที่เน้นการดูแล ออกแบบ การติดตั้ง การบริการ และการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
  • ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ที่เน้นดูแลเฉพาะการผลิต การบริการ และการติดตั้งเท่านั้น
  • ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ที่ใช้เน้นให้ความสำคัญในการดูแลเรื่องการตรวจสอบขั้นสุดท้าย
  • ISO 9004 เป็นแนวทางที่ช่วยให้เกิดการบริหารระบบงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดคุณภาพสูงสุด ซึ่งจะมีข้อแนะนำในการบริหารจัดการ มีการกำหนข้อย่อยๆ ในธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป
  • ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานที่สนใจกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นให้ความสำคัญกับองค์กรในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
  • ISO 18000 เป็นมาตรฐานการจัดการ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
  • ISO/TS 16949 คือระบบมาตรฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์

ส่วน UL certificate จะเป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นตรงกับใคร มีหน้าที่ให้ความรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นของ Underwriters Laboratories Inc

มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (ISIC) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ

มาตรฐานอุตสาหกรรม

  • British Standard (BS) เป็นมาตรฐานของประเทศอังกฤษ
  • German Industrial Standard (DIN) เป็นมาตรฐานของประเทศเยอรมัน
  • Japanese Industrial Standard (JIS) เป็นมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
  • American National Standard Institute (ANSI) เป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Thailand Industrial Standard (TIS) เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของประเทศไทย
  • Verband Deutscher Elektrotechniker (VDE) เป็นมาตรฐานของกลุ่มวิศวกรไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี
  • Keuring van Elektrotechnische Materialen (KEMA) เป็นมาตรฐานการทดสอบของประเทศเนเธอร์แลนด์
  • International Electrotechnical Commission (IEC) เป็นมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศที่จัดทำมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • African Regional Standards Organization (ARSO ) เป็นองค์การมาตรฐานแห่งภูมิภาคแอฟริกา
  • RoHS (The Restriction of The Use of Certain Hazardous Substance In Electrical and Electronic Equipment) เป็นระเบียบของสหภาพยุโรปหรือ EU (The European Union) ว่าด้วยเรื่องของการห้ามใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์
  • WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีการห้ามนำเอาสารเคมีอันตราย 6 ชนิดเข้ามาใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ คือ ปรอท (Hg) ตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd), โครเมียม เฮกซะวาเลนต์ (Cr(Vl) ), โพลิโบรมิเนต-ไบฟินิล (PBB) และโพลิโบรมิเนต-ไดฟินิล-อีเทอร์ (PBDE)

คำว่า BOI ย่อมาจาก Thailand Board of Investment เป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่จะอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม

มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (ISIC) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ

มาตรฐานที่ใช้ในการผลิต

  • Codex Alimentarius Commission (CAC) เป็นคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
  • GAP (Good Agricultural Practice) เป็นมาตรฐานการผลิตสินค้าการเกษตร โดยจะถูกกำหนดด้วยหน่วยงานต่างๆ มีกระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้บังคับใช้กับทางผู้ประกอบการสินค้าเกษตรภายในประเทศ
  • GMP(Good Manufacturing Practice) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับผลิตและเก็บรักษาอาหาร มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนดและบังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารภายในประเทศ
  • HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นมาตรฐานที่เน้นคามปลอดภัยด้านสุขอนามัยอาหาร มีการกำหนดโดย Codex Alimentarius ซึ่งมีการบังคับใช้กับผู้ประการในโรงงานอาหารส่งออก ในกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
  • ISO เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย Codex Alimentarius บังคับกับผู้ประกอบการอาหารส่งออก
  • SQF2000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย Codex Alimentarius กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารส่งออกของประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Animal Welfare เป็นมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ถูกกำหนดภายใต้กลุ่มประเทศของสหภาพยุโรป สำหรับฟาร์มและสถานที่เลี้ยงสัตว์
  • GMOs (Genetically modified organisms) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าหรือวัตถุดิบมาทำการดัดแปลงพันธุกรรม ถูกกำหนดโดยประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศ บังคับใช้กับโรงงานอาหารสัตว์
  • NFPA (National Fire Protection Association) เป็นมาตรฐานในการป้องกันอัคคีภัย
  • ASME = American Society of Mechanical Engineers
  • ASTM = American Society of Testing and Material
  • AWWA = American Water Work Association
  • API = American Petroleum Institute
  • IP = The Institute of Petroleum
  • CTFA = Cosmetic, Toiletry and Frangrance Association, Inc.,
  • CODE = Codex Alimentarius Commission – CAC